2. จัดทำทะเบียนคุมเงินงบประมาณ เงินรายได้ ตามที่ได้รับจัดสรรและสภาอนุมัติ รวมถึงแหล่งเงินอื่นทุกหน่วยงานในวิทยาเขตภูเก็ต
3. การขอเงินประจำงวดเงินงบประมาณ การโอน / เปลี่ยนแปลงรายการ / การขอใช้เงินเหลือจ่าย
4. การโอนเงินรายได้ข้ามแผนงาน
5. รายงานการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานในวิทยาเขตภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ
6. ส่งเจ้าหน้าที่การเงินไปปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินประจำที่คณะ
6.1 จัดทำเอกสารเบิกจ่ายทุกประเภทยกเว้นงานพัสดุและโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการศึกษาภาคฤดูร้อนนักศึกษาในและต่างประเทศ โครงการฝึกปฏิบัติงานนักศึกษา โครงการศึกษาต่อของบุคลากร เป็นต้น
6.2 จัดทำเอกสารขออนุมัติยืมเงินรายได้ ขออนุมัติเดินทางไปและมาราชการของบุคลากรและอาจารย์พิเศษ
6.3 ควบคุมเงินยืมทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายอาจารย์พิเศษและทดรองจ่ายเงินสดย่อย
การเงิน-เงินรายได้
1. รับชำระเงินค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของนักศึกษารวมทั้งเงินรายได้อันที่พึงจะเกิดขึ้น
2. เบิกจ่ายเงินและตรวจสอบการกู้ยืมเงินของนักศึกษาจากกองทุน กยศ และ กรอ
3. ลงทะเบียนคุมค่าประกันของเสียหายของนักศึกษา และตรวจสอบการขอคืนเงินทุกประเภท เช่น การขอคืนเงินค่าหน่วยกิจ ค่าหอพัก ค่าประกันของเสียหาย ค่าอื่นๆ ตามประกาศมหาวิทยาลัย
4. รับ – จ่ายเงินรายได้ทุกประเภท เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี และอื่นๆ
5. จัดทำรายงานใบเสร็จรับเงินคงเหลือประจำปี เงินคงเหลือประจำวัน เก็บรักษาเงินสด เช็คต่าง ๆ และหลักประกันสิ้นสุดสัญญาในตู้นิรภัย โดยมีกรรมการรักษาเงินของวิทยาเขตตรวจสอบ
6. ติดต่อธนาคาร รัฐวิสาหกิจ สำนักงาน สกสค สำนักงานประกันสังคม บริษัทร้านค้าและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อฝาก – ถอนเงิน นำส่งเงินรายได้แผ่นดิน ส่งดร๊าฟ เบิกสมุดเช็ครับ – จ่ายเงินและรับใบเสร็จรับเงิน
การเงิน-เงินงบประมาณ
1. จัดทำและพิมพ์ ขบ. ต่าง ๆ ทั้งเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ เงินงบกลาง เงินงบประมาณเบิกแทนกัน พร้อมรายละเอียดประกอบ (ทุกคณะ/หน่วยงาน/หมวดร่ายจ่ายพร้อมนำส่งผ่านระบบ GFMIS TOKEN KEY)
2. จ่ายเงินงบประมาณ ทุกหมวดรายจ่าย ให้แก่บริษัท ร้านค้า บุคลากรภายใน ทุกคณะ / หน่วยงาน นำเงินไปจ่ายค่าสาธารณูปโภคของเงินงบประมาณและ เงินนอกงบประมาณ (เงินรายได้วิทยาเขตภูเก็ต) เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ (ภายในและต่างประเทศ) ค่าไปรณีย์ รวมทั้งในเมืองและที่กระทู้
3. ดำเนินการจัดส่งหนังสือรับรองการหักเงิน ณ ที่จ่ายให้บริษัทฯ ร้านค้าต่าง ๆ ทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด
4. รับ – จ่ายเงินรายได้ทุกประเภท เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี และอื่นๆ
4.1 แจ้งบุคลากรภายใน ทุกคณะ / หน่วยงานให้มารับเงินในกรณีต่าง ๆ
4.2 ติดต่อบริษัทฯ ร้านค้าต่าง ๆ ให้มารับเงิน และนำใบเสร็จรับเงินมาให้ในกรณีจ่ายตรงเจ้าหนี้
4.3 เร่งรัด ติดตามในกรณีบริษัทฯ ร้านค้า ยังไม่มารับเงินและนำใบเสร็จรับเงินมาให้
5. จัดทำรายละเอียดเงินเดือนข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานมหาวิทยาลัยฯ พนักงานเงินรายได้ และรายละเอียดการหักเงินต่าง ๆ ประจำเดือน และ เขียนเช็คสั่งจ่ายธนาคารพร้อมจัดทำทะเบียนจ่ายเช็ค
6. จัดเก็บข้อมูลเงินเดือน ค่าจ้างประจำ เงินประจำตำแหน่ง ค่าตอบแทนรายเดือน เงินเพิ่มค่าครองชีพฯ ภาษี หัก ณ ที่จ่าย และอื่นๆ เพื่อจัดทำหนังสือรับรองข้าราชการและลูกจ้างปะจำ พนักงานเงินรายได้ ประจำปี และจัดทำ ภงด.1ก(พิเศษ) ส่งสรรพากรประจำปี
การบัญชี
1. จัดทำบัญชีขั้นต้น บัญชี แยกประเภท บัญชีย่อยต่าง ๆ และตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชี
2. จัดทำใบโอน งบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร และรายงานการเงินต่าง ๆ เพื่อแจ้งคณะ / หน่วยงาน มหาวิทยาลัยฯ หน่วยตรวจสอบภายใน และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
3. จัดเก็บหลักฐานการบันทึกบัญชี เพื่อสะดวกในการค้นหาและตรวจสอบ
ภารกิจงานพัสดุ